จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ของ พีดีเอส 70

จานรอบดาวเคราะห์ PDS 70c

จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดรอบดาว PDS 70 นั้นได้เริ่มถูกตั้งข้อสังเกตไว้ตั้งแต่ปี 1992 [3] แล้วก็ได้รับการยืนยันในปี 2006 [1] แผ่นจานมีรัศมีประมาณ 140 au ในปี 2012 ได้มีการตรวจพบพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ (~ 65 AU ) ด้านในแผ่นจาน ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการที่มีดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นภายใน [4] [2]

งานตีพิมพ์ในปี 2018 ได้เผยแพร่ภาพดาวเคราะห์ดวงหนึ่งด้านในแผ่นจาน ชื่อ PDS 70b ซึ่งถูกจับภาพโดยตรงได้ด้วย กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่มาก (VLT) [5] [6] โดยคาดการณ์ไว้ว่าขนาดน่าจะใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดีหลายเท่า อุณหภูมิประมาณ 1,000°C และบรรยากาศมีเมฆ วงโคจรมีรัศมีประมาณ 3220 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 120 ปีในการโคจรหนึ่งรอบ หลายคนทำนายว่าดาวเคราะห์นั้นมีจานพอกพูนมวลเป็นของตัวเองด้วย [7] [8] และก็ได้รับการยืนยันว่ามีแผ่นจานอยู่จริงในปี 2019

ดาวเคราะห์ดวงที่สองชื่อ PDS 70c ถูกค้นพบในปี 2019 โดยใช้สเปกโตรกราฟ MUSE ของกล้อง VLT [9] ดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ด้วยระยะทาง 5310 ล้านกิโลเมตร ซึ่งไกลกว่า PDS 70b และมีการสั่นพ้องของวงโคจร กับ PDS 70b โดยมีสัดส่วนคาบการโคจรเป็น 1: 2 ซึ่งหมายความว่า PDS 70c จะโคจรครบประมาณหนึ่งรอบในขณะที่ PDS 70b โคจรครบสองรอบ